วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ถูกงูกัด


แนวทางการดูแลรักษา
1.             การปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูกัดควรมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องปฐมพยาบาลแต่อย่างใด แต่ถ้าเกิดเหตุอยู่ไกลใช้เวลาเดินทางมากกว่า 30 นาที  การปฐมพยาบาลที่แนะนำ คือ ใช้ผ้าหรือเชือกขนาดนิ้วก้อย รัดเหนือแผลที่ถูกกัดแน่นพอให้สอดนิ้วได้ 1 นิ้ว หรือดามแขน , ขา ข้างที่เวลางูกัดด้วยไม้และผ้าพันแผลโดยรอบ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยขยับแขน , ขาข้างนั้น
2.             ถ้าทำได้ให้ผู้ป่วยนำงูมาด้วย เพื่อเปรียบเทียบชนิดของงู และทำการรักษาตามพิษของงู
3.             ถ้าไม่ได้นำงูมาด้วยให้สอบถามว่าเห็นตัวงูหรือไม่ งูมีลักษณะแบบใด
4.             การดูรอยเขี้ยว (fang mark) ถ้าเป็นงูพิษจะเห็นรอยเขี้ยว 2 เขี้ยว หรือถ้ากัดไม่เต็มที่อาจจะเห็นเพียงเขี้ยวเดียว ต้องแยกกับสัตว์กัดอื่น เช่น ตะขาบ แมลงป่อง
5.             ทำความสะอาดแผลด้วยสบู่และไอโอดีน
6.             การเฝ้าสังเกตอาการและการตรวจทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น ผู้ป่วยที่สงสัยว่าโดนงูพิษกัด ควรรับตัวไว้ในโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการและอาการแสดงที่เกิดจากงูพิษ
7.             กรณีไม่ทราบชนิดของงูหรือไม่เห็นตัวงู ให้Admit และดูแลให้ครอบคลุมทั้ง 2 ระบบ
การแยกชนิดของงู
1.               นำงูมาด้วย หรือผู้ถูกกัดหรือผู้อยู่ในเหตุการณ์รู้จักชนิดของงูแน่นอน
2.               ในกรณีที่ไม่รู้จักชนิดของงู ต้องอาศัยอาการและอาการแสดง

อาการเฉพาะที่
·        ปวด บวม น้อยมาก หรือไม่มี เนื่องจากงูพิษกัดแต่ไม่ปล่อยพิษ ได้แก่ งูสามเหลี่ยม , งูทับสมิงคลา , งูพิษเขี้ยวหลัง
·        ปวด บวม แดง ร้อน แต่ไม่มาก ได้แก่ งูแมวเซา หรืออาการระยะแรกของงูเห่าและงูจงอาง ในกรณีที่พบมีเลือดออกจากรอยเขี้ยว ให้คิดถึงงูแมวเซา
·        ปวด บวม แดง ร้อน มีอาการอักเสบชัดเจนและมีเนื้อตาย(tissue necrosis) ได้แก่ งูเห่า และงูจงอาง
·        ปวด บวม แดง และผิวหนังพองมีเลือด (hemorrhagic blebs) รอยจ้ำเลือด (ecchymosis) ได้แก่ งูกะปะ ,งูเขียวหางไหม้ ในกรณีที่มีผิวหนังพอง มีเลือดหลายแห่งให้คิดถึงงูกะปะ ส่วนงูเขียวหางไม้อาจพบ thrombophlebitis

 อาการทั่วไป
พิษต่อระบบประสาท
ในตอนแรกมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น หนังตาตก ,ต่อมามีอาการกลืนลำบาก พูดไม่ชัด ตามด้วยแขนขาอ่อนแรง , หายใจไม่สะดวก และสุดท้ายจะหยุดหายใจ
พิษต่อระบบเลือด
มีอาการเลือดออกผิดปกติ ได้แก่ เลือดออกจากแผลรอยกัดมาก ,มีเลือดบริเวณแผล ,เลือดออกตามไรฟัน ,จุดเลือดตามตัว,ปัสสาวะเป็นเลือด ,อาเจียนเป็นเลือด
พิษต่อกล้ามเนื้อ

ผู้ที่ถูกงูทะเลกัด จะแยกจากงูชนิดอื่นได้ง่ายเนื่องจากถูกกัดในทะเล หรือริมทะเล ผู้ป่วยมีอาการปวดกล้ามเนื้อทั้งตัว ,ปัสสาวะออกน้อย สีเข้ม



หมายเหตุ
-             Antivenom :        Neurotoxin 10 vial(100ml)    v     drip in ½ hr. (ไม่ต้องทำ Skin test)
                             Hematotoxin   ให้ 3 vial(30ml) + 5%DN/2 100 ml           v    drip in ½ (ไม่ต้องทำ skin test)
-             ATB : พิจารณาให้ต่อเมื่อมีอาการแสดงของการติดเชื้อ เพราะมีโอกาสการติดเชื้อต่ำ แต่ถ้าจะให้ต้องให้คลุมกรัมบวก,กรัมลบและanaerobe เช่น Augmentin
-             ก่อนให้ Antivenom ต้องมีการเตรียมยา CPM ,adrenaline, steroid ไว้ป้องกันการแพ้ serum


ผู้ตรวจสอบ                                                                    ผู้อนุมัติ
           ...................................                                  ............................             รหัส:CPG-PCT-SWL-011-00        
   (พญ.กาญจนาภรณ์  ถกลกิจสกุล)                  (นพ.กฤษณพงษ์    ชุมพล)             วันที่ 26  ธันวาคม 2555

    นายแพทย์  ปฏิบัติการ                              ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีวิไล






 

Sample text

Sample Text