วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ถูกสุนัขกัด


กลุ่ม
ชนิดของการสัมผัส
การรักษา
1
ถูกเลีย โดยไม่มีแผล ไม่ต้องฉีดยา
-ล้างบริเวณสัมผัส
-ไม่ต้องฉีดวัคซีน
2
-มีรอยถลอก รอยข่วน หรือรอยกัด แต่ไม่มีเลือดไหล หรือมีเลือดซึมเล็กน้อย
-ถูกจับเป็นรอยช้ำที่ผิวหนัง ไม่มีเลือดออก
-ถูกเลีย น้ำลายถูกผิวหนังที่มีแผล , รอยถลอก
-ล้างและรักษาแผล
-ฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
3
-ถูกกัด ถูกข่วนเป็นแผลเดียว หรือหลายแผล และมีเลือดออกมาก
-ถูกเลีย หรือน้ำลายถูกเยื่อเมือก , ตา , ปาก
-มีแผลที่ผิวหนัง และสัมผัสเนื้อสมองสัตว์ และ/หรือชำแหละซากสัตว์
-ล้างแผลและรักษาแผล
-ฉีดวัคซีน และอิมมูโนโกลบุลิน
หมายเหตุ
-          บาดแผลใหญ่ ไม่ควรเย็บปิดแผลทันที ควรทำเป็น delayed primary suture 3 -5 วัน
-          กรณีฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ถ้าสุนัขฉีดวัคซีน และมีเหตุจูงใจให้กัด ให้ฉัดวัคซีน 3 เข็ม + สังเกตสุนัข (ให้อาหารสุนัขปกติ) ถ้าสุนัขไม่ตายให้ฉีดแค่ 3 เข็ม
-          กรณีสุนัขจรจัด ให้ฉีดวัคซีนครบ 5 เข็ม ทุกราย
-          กลุ่ม 3 ข้างต้น ก่อนให้ ERIG ต้องรายงานแพทย์ก่อนทุก Case
และต้องทำ Skin test ก่อนฉีดทุกราย (ใช้ ERIG เจือจาง 1 : 100 ใช้ 0.02 ml ฉีดให้เกิดรอยนูน 3 mm ผลบวก : เกิดรอยนูน 6 mm)


ATB ให้กลับบ้านAmoxicillin 500 mg mg 1tab  •  tid pc x 3 – 5 วัน
กรณีแพ้ Penicillin ให้ Doxycycline 100 mg) 1 cap  •   bid pc x 3 – 5 วัน
-          พิจารณาฉีดวัคซีนบาดทะยัก (ตาม CPG)
การฉีดวัคซีน
-          กรณีที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนให้ฉีด Verorab 0.5 ml IM,ในวันที่ 0,3,7,14,30
-          กรณีเคยได้รับวัคซีนมาครบ
o   ภายใน 6 เดือน : ให้ฉีดกระตุ้น 1 dose ในวันที่มารพ.

o   หลัง 6 เดือน : ให้ฉีดกระตุ้น 2 dose ในวันที่ 0,3



     ผู้ตรวจสอบ                                                              ผู้อนุมัติ
..............................                                                    ...................................                      รหัส:CPG-PCT-SWL-009-00   
     (พญ.กาญจนาภรณ์  ถกลกิจสกุล)              (นพ.กฤษณพงษ์    ชุมพล)                       วันที่ 26  ธันวาคม 2555
       นายแพทย์  ปฏิบัติการ                              ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีวิไล
 

Sample text

Sample Text