วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวทางการดูแลผู้ป่วยTrauma


การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
      
1.Primary survey
      คือการตรวจหาพยาธิสภาพที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันสั้น ซึ่งเมื่อพบต้องรีบแก้ไขทันที ได้แก่ การตรวจดูเรื่องทางเดินหายใจ (airway with cervical spine control), การหายใจ (breathing), ระบบไหลเวียนโลหิต (circulation) ,ความรู้สึกตัว (Disability)และสิ่งแวดล้อม(Exposure / Environment control
)
2.Resuscitation
       การรักษาผู้ป่วยให้พ้นจากภาวะวิกฤติซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจ, การช่วยหายใจ, การให้ fluid resuscitation, การห้ามเลือด ฯลฯ
3.Secondary survey
       เป็นการตรวจหาพยาธิสภาพอย่างละเอียดหลังจากที่ผู้ป่วยพ้น ภาวะวิกฤติแล้วขั้นตอนนี้ประกอบด้วยการซักประวัติ, ตรวจร่างกายอย่างละเอียด, การตรวจทางห้องปฏิบัติการ, และการตรวจพิเศษต่าง ๆ เช่น X-ray, CT scan, diagnostic peritoneal lavage ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่ช่องท้อง เป็นต้นผู้ป่วยบางรายมาถึงห้องฉุกเฉินในสภาพหนักมาก อาจได้รับการส่งต่อโดยไม่มีโอกาสทำ secondary survey อย่างชัดเจน
4.Definitive care
       การรักษาผู้ป่วยหลังจากที่ได้ตรวจวินิจฉัยในเบื้องต้นเรียบร้อย
1,2Primary survey+ Resuscitation(ควรทำไปพร้อมกัน)

A :Airway with cervical spine control
การดูแลระบบทางเดินหายใจและกระดูกสันหลังส่วนคอ
-      สาเหตุ ได้แก่ลิ้นตกไปอุดบริเวณ posterior pharynx, soft tissue บริเวณคอบวม, มีการตกเลือดในช่องปากและทางเดินหายใจส่วนบน, สิ่งแปลกปลอม (foreign bodies), ฟัน, และเศษอาหารที่ผู้ป่วยอาเจียนขึ้นมา
-      ผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดการอุดตันระบบทางเดินหายใจส่วนบนสูงได้แก่ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวจากสาเหตุต่างๆ (เช่นได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ, เมาสุรา), ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บต่อกระดูกหน้ารุนแรง (severe maxillofacial trauma) และผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บที่คอ
-      ส่วนใหญ่จะมีอาการกระวนกระวายจากภาวะ hypoxia, หายใจเสียงดัง, เขียว, ใช้ accessory muscles of respiration,บางรายมีอาการเสียงแหบ, พูดไม่ออก
ผู้ป่วยที่เมื่อแรกรับที่ห้องฉุกเฉินสามารถพูดตอบคำถามแพทย์ได้ดีและหายใจได้ดีบ่งว่าไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องระบบทางเดินหายใจอุดตัน
-      ปัจจัยเสี่ยงที่จะมีการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนคอ (cervical spine) คือ ไม่รู้สึกตัว, มีการบาดเจ็บต่อกระดูกหน้า (maxillofacial injury), มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ, มีการบาดเจ็บที่คอ, และผู้ป่วยบ่นว่าปวดต้นคอ ผู้ป่วยเหล่านี้ควรได้รับการ support cervical spine ด้วย cervical collar หรือใช้หมอนทรายวางที่สองข้างของศีรษะและระมัดระวังในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือเมื่อจะทำหัตถการต่าง ๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวคอผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องทางเดินหายใจส่วนบนอุดตันควรพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ (endotracheal intubation) ข้อบ่งชี้ในการใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บมีดังต่อไปนี้
      1. มีการอุดตันของระบบทางเดินหายใจส่วนบน                   (upper airway obstruction)
      2. ไม่หายใจ (apnea)
      3. ภาวะ hypoxia
      4. บาดแผลถูกยิงหรือแทงที่คอ และมีก้อน hematoma ใหญ่ในคอ
      5. ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่คะแนน GCSต่ำกว่า 8
      6. ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบและอยู่ในภาวะช็อค
การใส่ท่อช่วยหายใจอาจแบ่งออกเป็นการใส่ทางจมูก (nasotracheal intubation), การใส่ทางปาก (orotracheal intubation), และการทำ surgical airway ซึ่งแบ่งออกเป็นการทำ cricothyroidotomyและการทำ tracheostomy
การใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก (orotracheal intubation)
       ทำได้ง่ายที่สุดและแพทย์ส่วนใหญ่สามารถทำได้ดี จึงแนะนำให้เลือกทำเป็นอันดับแรกแต่วิธีนี้จะต้องแหงนคอผู้ป่วยในระหว่างใส่จึงอาจเป็นอันตรายต่อไขสันหลังที่ระดับคอได้ถ้าผู้ป่วยมี cervical spine injury ควรหลีกเลี่ยงการแหงนคอผู้ป่วยมากเกินไปและควรมีผู้ช่วยคอยประคองศีรษะผู้ป่วยระหว่างใส่ (in-line stabilization)
B :Breathing and ventilation
การดูแลด้านการหายใจ

         ปัญหาด้านการหายใจที่อันตรายเร่งด่วนควรวินิจฉัยให้ได้และแก้ไขเมื่อทำ primary survey ได้แก่
Tension pneumothorax
     เกิดจาก blunt หรือ penetrating trauma มีลมรั่วจากเนื้อปอด, bronchi, trachea หรือจากภายนอกผ่านบาดแผลที่ผนังทรวงอกเข้าสู่ช่องอกทำให้ปอดไม่ขยายตัวเกิดภาวะ hypoxia สิ่งที่ตรวจพบมีตั้งแต่ trachea shift ไปด้านตรงข้าม, distended neck vein, ฟังเสียงหายใจของปอดข้างที่มีพยาธิสภาพไม่ได้decrease breath sound, cyanosis, ความดันโลหิตอาจตกผู้ป่วยอาจมีอาการตั้งแต่หายใจลำบากจนถึงอยู่ในภาวะใกล้ตาย (air hunger) การวินิจฉัยมักทำได้จากการตรวจร่างกายโดยไม่ต้องทำเอ็กซเรย์ช่องปอดก่อนซึ่งอาจทำให้รักษาไม่ทันการเมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยมี tension pneumothorax ควรใช้เข็มขนาดใหญ่ (เบอร์ 14 หรือ 16) ประกอบกับ syringe แทงเข้าช่องปอดที่ intercostal space ที่ 2 mid-clavicular line ซึ่งจะได้ลมพุ่งออกมาและควรต่อด้วยการใส่ chest tube (ICD) ที่ intercostal space ที่ 4 หรือ 5 mid axillary line สาย ICD ที่ใช้ควรใช้ขนาดใหญ่ (เบอร์ 36)
Flail chest
       เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีกระดูกซี่โครงหัก 2 ตำแหน่ง ใน 1 ซี่ เป็นจำนวน 3 ซี่ขึ้นไป หรือผู้ป่วยมีกระดูกซี่โครงหัก 1 ซี่หรือมากกว่าและมี separation ของ costochondral junction หรือมีกระดูก sternum หักร่วมด้วยมักจะเกิดจากแรงกระทำที่รุนแรง จึงมักมี lung contusion, pneumoหรือ hemothoraxร่วมด้วย flail chest ทำให้ผนังทรวงอกขาดเสถียรภาพเกิดภาวะที่เรียกว่า paradoxical respiration (หายใจเข้าแล้วหน้าอกยุบ) ซึ่งมีผลทำให้เกิด hypoxia และความเจ็บปวดทำให้ประสิทธิภาพในการหายใจลดลงการรักษามีหลักการคือ ลดความเจ็บปวดและแก้ไข hypoxia ที่เกิดจาก lung contusion การลดความเจ็บปวดที่ดีอาจทำโดยให้ยาแก้ปวด, ทำ intercostal nerve block หรือทำ epidural analgesia ผู้ป่วยควรได้รับoxygen และ monitor ดูการหายใจและ oxygenation ถ้าเห็นว่าไม่ปลอดภัยควรใส่ endotracheal tube และช่วยหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจ ถ้ามี pneumoหรือ hemothoraxควรใส่ ICD


Open pneumothorax
       เป็นภาวะที่มีบาดแผลที่ผนังทรวงอกขนาดใหญ่กว่า 2/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของ trachea บางครั้งเรียก "sucking chest wound" ซึ่งเมื่อหายใจเข้าลมจากภายนอกจะผ่านบาดแผลนี้เข้าสู่ช่องอกเกิดภาวะ respiratory distress ขึ้น การรักษาทำโดยปิดบาดแผลที่ผนังช่องอกด้วย sterile occlusive dressing (vaseline gauze)และใส่ ICDถ้าผู้ป่วยยังมีปัญหาเรื่องการหายใจมาก ควรใส่ endotracheal tube และช่วยหายใจ ส่วนมากบาดแผลที่ผนังทรวงอกมักต้องเย็บปิดซ่อมแซมในห้องผ่าตัด
Massive hemothorax
       หมายถึงการตกเลือดในช่องปอดมากกว่า 1500 ml อาจให้อาการคล้าย tension pneumothorax เนื่องจากผู้ป่วยจะมีเสียงหายใจของข้างที่เป็นลดลงและมี engorged neck vein ได้ การรักษาทำโดยใส่ chest tube และให้ fluid resuscitation ถ้าเวลาที่ได้รับบาดเจ็บไม่นานและมีเลือดออกจาก chest tube ทันทีมากกว่า 1,200 - 1,500 ml ควรนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดทำ thoracotomy เพราะแสดงว่าน่าจะมีการฉีกขาดตัวหลอดเลือดที่ไม่น่าจะหยุดเองโดยง่ายถ้ามีเลือดออกจาก chest tube มากกว่าชั่วโมงละ 100-200 ml. เป็นเวลาหลายชั่วโมง (4-6 ชั่วโมง) ก็ควรพิจารณาทำ thoracotomy เช่นเดียวกัน

C :Circulation and hemorrhage control
การดูแลระบบไหลเวียนโลหิต
     ภาวะช็อคหมายถึงภาวะที่เนื้อเยื่อมีออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ การเสียเลือดสาเหตุอื่นที่พบได้ไม่บ่อยนักได้แก่ cardiac tamponadeซึ่งมักเกิดจาก penetrating injury ต่อหัวใจและ neurogenic shock ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บต่อไขสันหลังในระดับสูง (ตั้งแต่ mid thoracic level ขึ้นไป)
       ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อคส่วนใหญ่จะมีความดันโลหิตตกชัดเจน (systolic blood pressure < 90 mmHg.) ผู้ป่วยอาจเสียเลือดถึงร้อยละ 30 ของ total blood volume โดยความดันโลหิตยังไม่ตกชัดเจน ในภาวะดังกล่าวการตรวจดู pulse pressure (ผลต่างระหว่างความดันโลหิต systolic และ diastolic) จะเป็นตัวบอกที่ดีกว่า pulse pressure จะแคบลง เมื่อเสียเลือดประมาณร้อยละ 15 ของ total blood volume การมีชีพจรเต้นเร็ว (tachycardia) มักบ่งถึงการมี hypovolemiaอย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ความเจ็บปวดและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงก็อาจทำให้ชีพจรเต้นเร็วได้เช่นเดียวกัน

       ภาวะ hemorrhagic shock ควรให้ intravenous fluid อย่างน้อย 2 เส้นที่แขนทั้ง 2 ข้างทันทีโดยใช้เข็มเบอร์ใหญ่ (เบอร์ 16) พร้อมทั้งดูดเลือดจากผู้ป่วยทำ matching และ grouping เอาเลือดมาให้ผู้ป่วย ในระยะแรกควร resuscitate ด้วย isotonicsolution เช่น Ringer’s lactate solution หรือ Ringer’s acetate solution หรือ 0.9%NSS ถ้าผู้ป่วยเสียเลือดมากเมื่อเลือดมาแล้วควรให้เลือดทันที
       ในกรณีที่เมื่อผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลในสภาพที่เสียเลือดไปมากแล้วอาจเริ่ม resuscitate โดยให้ colloid ร่วมด้วย เช่น hydroxyethyl starch, gelatin, albumin เป็นต้น เพื่อเพิ่ม intravascular volume อย่างรวดเร็วและรีบนำเลือดมาให้ผู้ป่วยให้เร็วที่สุด นอกจากเส้นเลือดดำที่แขนแล้ว venous access อื่น ๆ ที่อาจใช้เป็น route of fluid resuscitation ในผู้ป่วย hemorrhagic shock ได้แก่ saphenous vein cutdownที่ข้อเท้า, saphenous vein cutdownที่ขาหนีบ, basilic vein cutdownที่แขน, และ femoral vein catheterization
       นอกจากการให้ fluid resuscitation ในการรักษาภาวะ hemorrhagic shock แล้วสิ่งสำคัญที่ควรทำไปพร้อม ๆ กัน คือ การหยุดเลือดที่กำลังออกถ้าเลือดออกจากบาดแผลภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน ควรหยุดเลือดโดยใช้ pressure เช่นกดแผลไว้ด้วยมือ (ใส่ถุงมือเรียบร้อยแล้ว), พันแขน, ขาที่มี active bleeding ด้วย elastic bandage ในกรณีที่มีเลือดออกจากจมูกมากในผู้ป่วยที่มี severe maxillofacial injury ควรใช้ Foley catheter ที่มี balloon ขนาดใหญ่ใส่เข้าทางจมูกฉีดน้ำหรือลมเข้า balloon แล้วดึงเป็น posterior nasal packing (ผู้ป่วยควรได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจแล้ว), ในกรณีที่หนังศีรษะฉีกขาดเป็นแผลยาวอาจเสียเลือดได้มากถ้าการกดธรรมดาไม่เพียงพอที่จะให้เลือดหยุดได้ควรเย็บแผล

ถ้าไม่มีบาดแผลภายนอกที่บ่งชี้ว่าจะอธิบายภาวะ hemorrhagic shock ได้ควรมองหาตำแหน่งที่อาจมีเลือดออกในส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้คือ
       1. ในช่องอก
       2. ในช่องท้องรวมทั้ง retroperitoneal area
       3. ในอุ้งเชิงกราน (ในผู้ป่วยที่มีกระดูกเชิงกรานหักรุนแรง)
       4. ที่ต้นขา (thigh) ในผู้ป่วยที่มีกระดูก femur หัก
สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้เสมอคือ ผู้ป่วยอาจมีการเสียเลือดในส่วนต่าง ๆของร่างกายได้มากกว่า 1 แห่ง จึงควรระมัดระวังในข้อนี้ไว้เสมอ
       - การตกเลือดในช่องอกอาจทราบได้จากการตรวจร่างกาย, การเอ็กซเรย์ปอดหรือการใส่ chest tube ถ้าออกมากหรือออกต่อเนื่องอาจจำเป็นต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด ทำ thoracotomy
       - การตกเลือดในช่องท้องอาจทราบได้อย่างรวดเร็ว โดยการทำ diagnostic peritoneal lavage,FASTเมื่อวินิจฉัยได้ควรนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดทำทันที
       - การตกเลือดในอุ้งเชิงกรานหรือต้นขาควรจะสงสัยในผู้ป่วยที่มีกระดูกเชิงกรานหักรุนแรงหรือกระดูก femur หักมักจะหยุดเองโดยไม่ต้องผ่าตัดถ้าไม่มีหลอดเลือดสำคัญในบริเวณนั้นได้รับบาดเจ็บร่วมด้วย



D :Disability and Neurologic status
การตรวจสอบความรู้สึกตัวของผู้ป่วย ประเมิน GCS ถ้าน้อยกว่า 8 ควรได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ อาการเบื้องต้นที่อาจบอกว่ามีความผิดปกติทางระบบประสาท ได้แก่ การตอบสนองของรูม่านตาไม่เท่ากัน ชักเกร็งกระตุก แขนขาอ่อนแรง
E :Exposure / Environment control
ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออกเพื่อดูการบาดเจ็บภายนอกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังจากตรวจดูเรียบร้อยแล้วรีบใส่เครื่องนุ่งห่มและให้ความอบอุ่นแก่ผู้ป่วย(keep warm)
3.Secondary survey
      - การซักประวัติ AMPLE : Allergy,      Medication currently being taken by the patient      ,Past illness and operation, Last meal, Event and Environment related to the injury
      - ตรวจร่างกายอย่างละเอียดตั้งแต่หัวจรดเท้า
      - การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เช่น CBC, BUN, Cr, G/M
      - การตรวจพิเศษต่าง ๆ เช่น X-ray, CT scan
      - X-ray : trauma series ได้แก่ Chest x-ray AP,                           lateral C-spine, PelvicAP
4.Definitive care
       การรักษาผู้ป่วยหลังจากที่ได้ตรวจวินิจฉัยในเบื้องต้นซึ่งผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลนี้หรือส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลที่มีความสามารถสูงกว่า

อ้างอิงจากแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม จัดทำโดย ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย2008



Early warning sign in patient Multiple trauma

1.             ผู้ป่วยมีความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงไปจากตอนแรก or GCS drop > 2 คะแนน
2.             มีอาการ shock or Hypotension (Bp<90/60 mmHg) ภายหลังได้รับ Fluid resuscitation
ครบ 2000 ml
3.             Heart rate > 120 ในผู้ใหญ่
4.             RR > 30 /min or < 8 min
5.             Oxygen Sat <90 %
6.             ผู้ป่วยที่มี ongoing bleeding
7.             Urine ออกน้อยกว่า 50 ml ใน 2 hr.



                          ตรวจสอบ                                                              ผู้อนุมัติ
           ..................................................                               ...............................................                  รหัส:CPG-PCT-SWL-014-00
            (พญ.กาญจนาภรณ์  ถกลกิจสกุล)                           (นพ.กฤษณพงษ์    ชุมพล)                    วันที่ 26  ธันวาคม 2555
                       นายแพทย์  ปฏิบัติการ                              ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีวิไล


 

Sample text

Sample Text