Clinical
practice guideline: Appendicitis
อาศัยประวัติและการตรวจร่างกาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
อาการ
ปวดท้องเป็นอาการที่สำคัญที่สุด ตอนแรกมักจะปวดรอบๆ
สะดือ (อาจปวดแบบบีบ ๆ หรือปวดแน่น ปวดไม่มาก) หรือบอกไม่ได้แน่ชัดว่าปวดที่บริเวณใดแต่ระยะต่อมาอาการปวดจะชัดเจนที่ท้องน้อยด้านขวา(right lower
quadrant-RLQ)
อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วยคือ
คลื่นไส้ อาเจียน อาการนี้พบได้ในผู้ป่วยเกือบทุกราย ไข้มักจะเกิดหลังจากเริ่มอาการปวดท้องแล้วระยะหนึ่ง
มักจะเป็นไข้ต่ำๆไม่สูงมาก เบื่ออาหาร ท้องเสีย
การตรวจร่างกาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการวินิจฉัย
การกดเจ็บเฉพาะที่ (local tenderness) เกือบทั้งหมดจะมี maximal tenderness ที่ RLQ
เป็นอาการแสดงที่สำคัญที่สุดผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมี rebound tenderness ในระยะที่ท้องยังนิ่มอยู่ หรือมี
guarding ร่วมด้วย ในผู้ป่วยไส้ติ่งแตกทะลุ tenderness และ guarding มักตรวจพบบริเวณกว้างขึ้นหรือพบทั่วบริเวณท้องน้อยส่วนล่างทั้ง
2 ข้าง จากการมี pelvic peritonitis ในรายที่เป็นก้อนไส้ติ่งอักเสบ
(appendiceal mass) จาก phlegmon หรือ
abscess มักคลำได้ก้อนที่ RLQ บริเวณท้องด้านขวาล่าง
ตำแหน่งของไส้ติ่ง อาจมีผลทำให้การตรวจร่างกายแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน
ถ้าตำแหน่งไส้ติ่งไม่ได้อยู่ใน intraperitoneal อาจทำให้อาการเจ็บที่ท้องด้านขวาล่าง ตรวจได้ไม่ชัดเจน ถ้าตำแหน่งไส้ติ่งเป็น
retrocaecal อาจกดเจ็บที่ตำแหน่งสีข้าง และตรวจ Psoas sign ได้ผลบวก ถ้าตำแหน่งไส้ติ่งอยู่ในอุ้งเชิงกราน
ตรวจหน้าท้องไม่พบสิ่งผิดปกติ แต่ PR แล้วผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บมาก
และตรวจ obturator sign อาจให้ผลบวก
การตรวจร่างกายอื่น ๆ ที่อาจให้ผลบวกได้
Rovsing’s
sign กดบริเวณท้องด้านซ้ายล่างแล้วผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดบริเวณท้องด้านขวาล่าง
Dunphy’s
sign ให้ผู้ป่วยไอ จะรู้สึกเจ็บมากขึ้น บริเวณท้องด้านขวาล่าง
ผู้ป่วยที่ตำแหน่งไส้ติ่งอยู่ที่
retrocaecal, retroperitoneal และวางอยู่บน psoas muscle อาจนอนอยู่ในท่า flex สะโพกขวาตลอดเวลา
Alvarado
score
เป็น
score ที่นิยมนำมาใช้ช่วยในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบ
แนวทางการรักษาไส้ติ่งอักเสบ